Panorama เทคนิคการสร้างสรรค์ภาพมุมกว้างด้วยการถ่ายพาโนรามา

panorama-guide.jpg

 

     เวลาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เราก็จะหมุนตัวไปมา หันซ้ายหันขวา เพื่อเก็บภาพของสิ่งรอบๆ ตัวทั้งหมดเอาไว้ นั่นเป็นเพราะมุมในการรับภาพของตาเราไม่กว้างเพียงพอที่จะเห็นได้รอบทิศ การถ่ายภาพก็เช่นกันแม้จะใช้เลนส์มุมกว้างหรือเลนส์ตาปลา ก็มีข้อจำกัดไม่สามารถเก็บภาพได้เกินกว่าเลนส์จะทำได้ ดังนั้นหากต้องการเก็บภาพด้วยกล้องให้มากกว่าที่กล้องและเลนส์เห็น เราก็ต้องหมุนกล้องเช่นเดียวกันหมุนตัวเราเอง ซึ่งสมองก็จะประมวลภาพที่เห็นต่างๆ ให้ต่อเนื่องเกี่ยวข้องกัน แต่ภาพถ่ายนั้นจะต้องใช้ซอฟแวร์เพื่อรวมภาพแต่ละภาพมาเป็นภาพเดียวกัน จึงจะได้ภาพพาโนรามาที่สมบูรณ์
 panorama_flat.jpg  1. Planner คือภาพพาโนรามาตามยาวแบบมุมกว้างทั่วไปโดยจะมีมุมประมาณ 120 x 50 องศา

 2. Cylindrical คือภาพ Panorama ที่มุมมองรอบตัวในแนวนอนเท่ากับ 360 องศา คล้ายเป็นรูปทรงกระบอก โดยมุมจะอยู่ที่ประมาณ 360 x 100 องศา

panorama_cylinder.jpg 
 panorama_cube.jpg  3. Cubic คือภาพ Panorama ที่แสดงภาพแบบลูกบาศก์ 6 ด้าน โดยใช้รูปประกอบกันจำนวน 6 รูป จะมีมุม ประมาณ 360×180 องศา
 4. Equirectangular คือภาพ Panorama ที่มีมุม 360×180 องศา โดยการถ่ายรอบตัวในลักษณะทรงกลม (spherical) และสามารถนำมาทำเป็นภาพ Quicktime VR ได้  panorama_sphere.jpg

Tools and Instruments
1.
กล้องถ่ายภาพ ท่านสามารถเลือกใช้ได้ทุกประเภท แต่ กล้องที่มีรูเสียบขาตั้งกล้องอยู่ในแนวเดียวกับเส้นศูนย์กลางของกล้อง จะทำให้มีปัญหาในการถ่ายภาพน้อยกว่า และควรเลือกใช้เลนส์มุมกว้างจะได้ผลดีที่สุด
2. ขาตั้งกล้อง  ควรเป็นขาตั้งกล้องที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพราะในการถ่ายภาพจะต้องมีการหมุนกล้อง นอกจากนี้แล้วหากมีระดับน้ำเพื่อตั้งขาให้ได้ระดับก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายแล้วต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้น
3. Panorama Head เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ จุดหมุนของเลนส์อยู่ในตำแหน่งการหมุนของขาตั้งกล้อง
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับโหลดภาพจากกล้องไปตกแต่งและต่อภาพควรเลือกที่มี processor ที่มีความเร็วสูง และมี Ram มากๆ เพราะส่วนใหญ่ภาพพาโนรามาจะใช้เวลาในการประมวลผลนาน
5. โปรแกรมสำหรับต่อภาพ เช่น Hugin. Autopano

หลักการถ่ายภาพพาโนรามา
1.
การซ้อนทับกันของภาพที่ติดกัน ภาพแต่ละภาพที่จะนำมาต่อกันจะต้องซ้อนกันอย่างน้อย 20% ไม่ว่าจะถ่ายภาพแนวตั้งหรือแนวนอน ค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30% แต่หากต้องการให้การซ้อนกันเนียนมากๆ ควรตั้งที่ประมาณ 50%
2. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องให้ได้ระดับทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยต้องควบคุมการตั้งระดับน้ำในขาตั้งกล้อง หรือบนหัวพาโนรามาให้ได้ระดับ หากตั้งไม่ได้ระดับแล้วจะทำให้ภาพที่ต่อกันนั้นเบี้ยว และต้องตัดภาพส่วนบน ส่วนล่างทิ้งไป
3. ควบคุมExposure ให้มีค่าคงที่ ดังนั้นจึงต้องถ่ายในโหมด Manual เพราะหากตั้งโหมด อื่นๆ แล้ว ค่าการฉายแสงจะถูกปรับเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง
4. ตั้งกล้องให้จุดโนดัล (nodal point) ของเลนส์ อยู่ ณ จุดหมุนของขาตั้งกล้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา พาราแล็กซ์ (Parallax)

 

     การคำนวณจำนวนภาพที่จะต้องถ่ายใน 1 รอบ หรือ 360 องศา ทั้งนี้ ขึ้นกับมุมรับภาพเลนส์ที่ใช้ กับขนาดของเซนเซอร์ ถ้าใช้กล้อง full frame ติดเลนส์มุมกว้่าง 14-15 มม. ใช้ภาพจำนวน 6 ภาพ ก็เพียงพอที่จะเก็บภาพพาโนแบบ Cylindrical แต่ หากใช้เลนส์ 16- 17 มม. ควรถ่ายภาพจำนวน 8 ภาพ และหากใช้เลนส์ 20 มม. ให้ถ่าย 10 ภาพ และหากใช้เลนส์ 24 มม ก็ใช้จำนวนภาพ 12 ภาพ เป็นต้น หัวพาโนที่ดี จะต้องมีสเกลไว้บอกมุมในการหมุน และแบบที่ดีมากๆ จะมีปุ่มหรือน็อดสำหรับตั้งองศาหรือจำนวนภาพได้ ดังภาพ

panorama_03.jpg 

ข้อควรระวังในการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพพาโนรามาจะต้องมีการต่อภาพกัน ดังนั้นควรระวังเรื่องคนหรือสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว เพราะ
หากภาพที่ถ่ายแต่ละภาพมีคนๆ เดียวกัน อยู่ในหลายๆ ภาพ เมื่อต่อภาพกันแล้วจะทำให้ดูไม่สมจริง เพราะมีคนๆ เดียว ปรากฎในหลายๆ เฟรม ทำให้เมื่อต่อภาพแล้วมีคนเดิมในหลายบริเวณ
การต่อภาพด้วยโปรแกรม
โปรแกรมสำหรับต่อภาพพาโนรามามีมากมาย มีทั้งที่ให้ใช้ฟรีหรือต้องเสียเงินซื้อ ผู้เขียนอยากจะแนะนำ
โปรแกรมที่ชื่อ Hugin (ออกเสียงว่า ฮักอิน) ซึ่งเป็นโปรแกรมแจกฟรี และมีความสามารถสูง สามารถ
ดาวน์โหลดได้ที่ http://hugin.sourceforge.net/ และในเว็บไซด์จะมี tutorial แนะนำการใช้โปรแกรมพร้อม
ภาพประกอบ
อย่างไรก็ตามท่านใดที่มี โปรแกรม photoshop อยู่แล้ว ก็อาจใช้ photoshop ต่อภาพให้ จากคำสั่ง File/
Automate/Photomerge แต่ควรใช้ version CS3 ขึ้นไปถึงจะต่อภาพได้ดี
การถ่ายภาพพาโนรามาแบบ 360 องศารอบตัวในบริเวณกลางแจ้ง และเมื่อใช้เลนส์มุมกว้างแล้ว ดวง
อาทิตย์มักเข้ามาอยู่ในภาพเสมอ ทำให้เกิดแสงแฟล์ ดังนั้นผู้ต้องการถ่ายภาพแนวนี้ควรเลือกการวาง
ตำแหน่งกล้องให้มีสิ่งของมาบังดวงอาทิตย์ เช่น ต้นไม้ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วหากความเข้มแสงมีความ
แตกต่างกันมากระหว่างบริเวณที่แสงส่องกับบริเวณในเงา ก็ควรระมัดระวังในการวัดแสงและเลือกรูรับแสง
กับความเร็วช้ตเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อเลือกเก็บรายละเอียดในบริเวณที่ต้องการ

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : www.portfolios.net