Macro เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร

      มาโคร (macro) หรือการถ่ายภาพใกล้เน้นรายละเอียดของตัวแบบอาวุธที่ถูกใช้มากที่สุดก็คือ เลนส์มาโคร Tamron 90mm หรือ Canon 100macro f2.8  พร้อมวิธีการเซตแฟลชภายนอกของกล้องที่เหมาะสม Nikon  หรือ Canon  , Sigma หรือ Tamron คุณเลือกใช้ตามกล้องของคุณแต่เมื่อคุณเริ่มต้นกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นนี้คุณต้องทำความข้าใจอะไรบางอย่าเสียก่อนความระทึกใจในการไล่ล่าและแรงกระตุ้นขั้นสูงสุดคือการสร้างสรรค์ภาพที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตที่หายากมันมากกว่าการนำภาพมาเปรียบเทียบกันเพียงอย่างเดียว  macro_title.jpg

การถ่ายภาพมาโครนั้นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคบางอย่างที่แตกต่างออกไป จากการถ่ายภาพบุคคล หรือ การถ่ายภาพสถานที่พอสมควร
คุณรู้จักซับเจคของคุณแล้วจริงๆรึยัง คุณสนใจเรื่องการโฟกัสพอหรือยังความเที่ยงตรงแม่นยำของกล้องที่ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญคุณต้องทำความเข้าใจด้วยว่าจะทำงาน่าวมกันกับแฟลชที่คุณมีอย่างไรสุดท้ายเราก็ขอต้อนรับคุณเข้าสู่โลกของการคำนวณระยะความชัดกันเลยครับ

macro_01.jpg   macro_02.jpg

โฟกัส การสร้างความคมชัด เฉพาะส่วนสำคัญ:
ด้วยเลนส์AF มาโคร ที่หลากหลายทั้งจากของค่ายกล้องโดยตรงและจากค่ายอิสระต่างๆในตลาดปัจจุบันนี้โดยทั่วไปก็ใช้งานได้อย่างดีสิ่งที่ควรคิดคือการเลือกใช้ระบบ ออโต้โฟกัสและแมนวลโฟกัสที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ

สิ่งสำคัญบางสิ่งที่ควรจำเมื่อทำการโฟกัสภาพ:
1.เนื่องจากคุณกำลังใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่ให้ภาพขนาด 1/1คุณจะได้ภาพที่มีความชัดตื้นเสมอด้วยผลที่เกิดจากการใช้เลนส์เทเลโฟโต้นั้นหมายความว่าหากคุณถ่ายภาพที่รูรับแสง f9 (เห็นเหมือนชัดทั่วทั้งภาพ)ระยะความชัดของภาพที่เกิดขึ้นจะมีเพียงล็กน้อยทุกครั้งที่ถ่ายภาพแมลงโดยโฟกัสไปที่หัวขนาดเล็กของแมลงจะได้ผลเช่นเดียวกับที่สายตามนุษย์ได้รับคือความชัดของภาพจะอยู่ที่จุดโฟกัสเท่านั้นเหตุผลเดียวกันนี้สามารถใช้กับการถ่ายภาพบุคคลด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อตาของคุณแนบอยู่กับกล้องต้องให้ความสำคัญกับการโฟกัสทุกครั้ง

2.ถ้าระบบออโต้โฟกัสของคุณไม่สามารถจับภาพได้ดีนักให้ตั้งกล้องของคุณในจุดที่ใกล้ที่สุดที่ลนส์สามารถให้อัตราการขยายสูงสุดปิดระบบออโต้โฟกัสซะแล้วใช้การเคลื่อนกล้องเข้าไปให้ใกล้ขึ้นหรือถอยห่างแทน

3.ถ้าแมลงหรือคุณมีการเคลื่อนไหว คุณอาจจะต้องใช้โหมดออโต้โฟกัสติดตามวัตถุเช่น AIServo (Canon) หรือ Group Dynamic (Nikon)ร่วมกับระบบถ่ายภาพต่อเนื่องเพื่อให้ได้ภาพที่โฟกัสได้ตามต้องการ

macro_03.jpg  macro_04.jpg 

ขาตั้งกล้อง:
อย่าออกจากบ้านโดยเด็ดขาดถ้าไม่มีขาตั้งกล้องเพราะไม่มีใครที่จะสามารถแบบทั้งกล้อง, เลนส์มาโคร 180 มม., แฟลชภายนอกและแผ่นรีเฟ็ค ได้พร้อมๆ กันด้วยสองมืออย่างแน่นอน
แสงธรรมชาติคือแสงที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแต่แมลงที่มุดซ่อนอยู่ใต้แผ่นใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งมืดทึบทึมนั้นจะสร้างความลำบากในการวัดแสงใช้ขาตั้งกล้องแบบไตรพอดที่แข็งแรงเมื่อต้องการถ่ายภาพดอกไม้หรือใช้ขาตั้งแบบโมโนพอดเมื่อถ่ายภาพแมลงที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เพื่อให้เลนส์มาโครของคุณสำแดงประสิทธิภาพได้สูงสุด

แฟลช:
อย่างที่เข้าใจว่าแสงธรรมชาติคือแสงที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแต่ร่มเงาของใบไม้และกิ่งก้านสาขาของต้นไม้จะทำให้สีสันของตัวแมลงดูแบนราบการใช้แสงแฟลชฟิลอินในบางส่วนของตัวแบบจะเพิ่มความสว่างและสร้างมิติให้แบบได้มากขึ้น
1.ตั้งค่าแฟลชให้อยู่ในโหมด rear curtain syncแสงแฟลชจะถูกปล่อยให้แสงธรรมชาติโดยรอบได้ทำหน้าที่เรียบร้อยแล้วซึ่งแสงแฟลชที่เพิ่มเข้าไปนั้นจะเป็นแสงขาวที่เพิ่มเข้าไปในตอนสุดท้ายโดยแสงที่ได้นั้นจะไม่ทำให้ภาพออกมาดูโอเวอร์
2.สำหรับบางคนที่มีกำลังทรัพย์ที่ดีพอนั้นสามารถหาแฟลชที่ออกแบบมาเพื่อการถ่ายภาพมาโครโดยเฉพาะมาใช้ได้อย่างเช่นริงแฟลช Sigma Ring Flash Macro EM-140  หรือ Canon Macro Ring Lite MR-14EX ที่มีจำหน่ายแล้วในตอนนี้

ริงแฟลชสามารถควบคุมได้อย่างง่ายดายโดยแสงแฟลชที่ออกมาจะตกลงบนตัวซับเจคโดยที่ไม่ไปบดบังหน้าเลนส์ทำให้เกิดส่วนมืดขึ้นในภาพด้วยการออกแบบมาเป็นอย่างดีอีกแนวทางที่สามารถให้ผลคล้ายกันก็คือการแยกแฟลชออกจากตัวกล้องโดยใช้สายพ่วงแฟลชเพื่อให้แสงแฟลชตกลงบนตัวแบบได้ตามความต้องการของผู้ถ่าย

3. สิ่งที่ควรจำอีกเรื่องหนึ่งก็คือการใช้ ซอฟต์บาซ์ ครอบไว้ที่หัวแฟลชของคุณเพื่อกระจายแสงแฟลชให้มากขึ้น

การเลื่อนไหว:
ดอกไม้และต้นไม้ไม่ได้นอนนิ่งให้เราได้ถ่ายภาพตลอดเวลาแมลงเช่นกันมันจะบินวนไปตามที่ต่างๆ เพื่อหาอาหารหรือแม้แต่การหาคู่(ซึ่งในบางครั้งก็น่าสนใจไม่น้อย) ดังนั้นเราจึงมีข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆเกี่ยวกับเรื่องลมและการเคลื่อนที่ การใช้ระบบออโต้โฟกัสและนี้เป็นเทคนิคบางอย่างที่เราอยากนำเสนอ

1. ใช้ร่างกายของคุณบังดอกไม้จากลมที่พัดเข้ามา
2. มองหาสถานที่ที่เป็นร่มเงาและไม่มีลมพัด (บ่อยครั้งที่สถานที่แบบนี้เหมาะแก่การเฝ้าดูผีเสื้อที่บินมาพัก)
3. พยายามถ่ายภาพในตอนเช้าก่อนที่พื้นดินจะร้อนมากขึ้นและเป็นเหตุให้เกิดลมที่ร้อนตามมาด้วย
4. ก้มต่ำลงบนพื้น
5. คิดถึงเรื่องสิ่งที่ช่วยยึดจับต้นไม้ด้วย เพื่อให้ได้มุมภาพที่ต้องการ (ไม่ควรตัดหรือทำลายต้นไม้)
6.ศึกษาถึงธรรมชาติของแมลงที่คุณต้องการว่ามันควรจะมุ่งหน้าไปที่ใดโดยวิเคราะห์จากสายพันธุ์ของมัน ว่ากินอาหารแบบใด ดอกไม้อะไร ที่มันชื่นชอบ
7. ใช้ระบบออโต้โฟกัสให้คล่องแคล่ว

macro_06.jpg  macro_05.jpg 

ช่วงความชัด:
การรู้จักกล้องของคุณมากขึ้นจะทำให้คุณถ่ายภาพแมลงและดอกไม้ได้ในทุกๆอากัปกิริยาปัญหาก็คือหากคุณไม่เข้าใจเรื่องของระยะความชัดมันจะทำให้คุณลำบากแน่นอนดังนั้นเราจะบอกทริคในการแก้ปัญหาเรื่องช่วงความชัดที่ชัดตื้นให้ทดลองดู
1.เซตตัวคุณและกล้องของคุณให้อยู่ขนานกับแมลงที่เล็งไว้ทำให้แน่ใจว่าอยู่ในแนวเส้นตรงแล้วและควรให้หัวและหางของแมลงตัวนั้นอยู่ในโฟกัสด้วย
2. ใช้รูรับแสงที่เล็กอย่าง f9 หรือ f11 หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย
3. ใช้ปุ่มเช็คชัดลึกตรวจดูภาพทุกครั้งหากกล้องของคุณมี
4. ใช้แฟลชเมื่อคุณต้องการแสงเพิ่มบนตัวแบบเพื่อเพิ่มรูรับแสงและความเร็วชัดเตอร์ที่มากขึ้นตามที่คุณต้องการ

บทสรุปรวมส่งท้าย
1.เรียนรู้ทุกเรื่องของชับเจคที่คุณอยากจะถ่ายภาพเท่าที่จะทำได้ เช่นมันจะกินอะไร, นอนที่ไหน, อะไรที่มันชอบ,และเวลาไหนของวันที่มันแข็งแรงที่สุด
2. เข้าไปชมเวบไซต์ต่างๆ ของนักถ่ายภาพธรรมชาติว่าเขาถ่ายภาพอย่างไรให้ดีกว่า และนำมันมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่คุณได้เจอ
3. ตั้งคำถามและขอคำวิจารณ์ให้กับภาพของคุณเพราะมันไม่สนุกหรอกหากถ่ายภาพแล้วมันสูญเปล่า
4.ระลึกไว้เสมอว่าทำไมคุณถึงทำมันขึ้นมาในตอนแรกก็เพราะคุณรักธรรมชาติและสนุกกับมันนะซิที่ผ่านมาเป็นการแนะนำวิธีการในการถ่ายภาพมาโครแต่ตอนนี้คุณควรออกไปข้างนอกและถ่าย ถ่าย ถ่ายภาพต่างๆเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับตัวเองด้านการถ่ายภาพมาโครและคำแนะนำสุดท้ายของเราคือ การถ่ายภาพมาโครนั้นไม่ได้จำกัดไว้แค่การถ่ายดอกไม้ใบหญ้าหรือแมลงเพียงเท่านั้นยื่นมือของคุณให้ใกล้เข้าไปถึงจินตนาการที่เหนือออกไปในบ้านของคุณเองก็มีอะไรสนุกๆ อีกหลายอย่างรอคุณอยู่

ขอบคุณเนื้อหาจาก :

06953_007.jpg