ฟิลเตอร์เรื่องไม่ยากมือใหม่เลือกง่าย

ฟิลเตอร์ ชื่อที่หลายคนมักจะได้ยินทุกครั้งเวลาที่ซื้อเลนส์หรือกล้องใหม่เป็นประจำแต่หลังจากนั้นเหล่ามือใหม่หัดถ่ายภาพก็แทบจะไม่ได้เข้าไปยุ่งกับชิ้นส่วนบางๆ หน้าเลนส์อีกเลย จนกกว่าจะมีอาการแตกหรือต้องการทำความสะอาดเลนส์อาจจะด้วยความเชื่อที่ว่าฟิลเตอร์เป็นเพียงเกราะป้องกันไม่ให้หน้าเลนส์ของเรามีฝุ่นเข้าไปรบกวนหรือป้องกันเลนส์จากการกระแทก  แต่เชื่อหรือไม่ว่าฟิลเตอร์เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้การถ่ายภาพของเรามีลูกเล่น น่าสนใจมากขึ้นจากการใช้เทคถ่ายภาพต่างๆ EC-Mall ร้านกล้องที่คุณวางใจ พามือใหม่หัดถ่ายภาพมาทำความรู้จักกับฟิลเตอร์ที่จะช่วยให้การถ่ายภาพสนุกมากขึ้น 

1.UV Filter และ Protector Filter 

UV Filter เป็นฟีลเตอร์ยอดนิยมที่เรามักจะซื้อพ่วงมากกับกล้องและเลนส์เป็นประจำ โดยหวังจะให้กระจกตัวหน้าเป็นเกราะป้องกันภัยอันตรายต่างที่จะมาทำลายเลนส์สุดห่วงของเรา แต่ในความจริงแล้ว UV Filter หรือ Ultraviolet Filter นี้มีส่วนช่วยให้การถ่ายภาพนอกสถานที่มากทีเดียว โดยตัวฟิลเตอร์จะเข้ามาช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากแสง UV ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากขึ้น ส่วนเพื่อนบ้านผู้ใกล้ชิดอย่าง Protector Filter ที่สร้างมาเพื่อใช้ปกป้องหน้าเลนส์ โดยเฉพาะในช่วงยุคฟิล์มมีช่างหลายคนซื้อฟิลเตอร์รุ่นนี้ติดกระเป๋าไปด้วย แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักนิยมใช้ UV Filter มาทำหน้าที่ในส่วนป้องกันเลนส์ด้วย 

2. Polarizing Filter  

อีกหนึ่งฟิลเตอร์ที่ช่างภาพสาย Landscapes ควรหามาประดับไว้สักชิ้น เพราะเลนส์ประเภทนี้จะช่วยลดแสงจำพวก glare และจัดการกับ saturation หรือให้ความอิ่มสีได้ดีมากขึ้น ทั้งยังลดภาพสะท้อนจะวัตถุต่างๆที่เป็นอโลหะอย่าง น้ำ กระจก ใบไม้ เป็นอีกหนึ่งฟิลเตอร์ที่ช่างภาพสายเข้าเข้าป่าหรือขึ้นตึกต้องมีติดกระเป๋าไว้เวลาออกล่าภาพ 

3. Neutral Density Filter หรือ ND Filter 

เป็นอีกหนึ่งฟิลเตอร์ยอดฮิตของคนถ่ายภาพสาย Landscapes ที่หลายคนต้องพกพกกันเกือบทุกคน ด้วยความสามารถที่ช่วยให้ช่างภาพลดค่า shutter speed ลงได้หลายสตอปเพื่อต้องการให้เกิดการเคลื่อนไหวในภาพโดยไม่ต้องเสียคุณภาพของรูปไป ซึ่งแผ่น ND Filter จะมีเลข F-stop กำกับไว้เพื่อให้ทราบว่าแผ่นฟิลเตอร์จะให้ความมืดได้เท่าไร  โดยในตลาดที่วางขายจะสามารถลดทอนแสงได้ถึง 13 stop เรียกนำไปส่องเวลากลางวันแทบจะไม่ค่อยเห็นอะไร ฟิลเตอร์ที่ดีจะไม่ทำให้สีภาพผิดเพี้ยนมากนัก ช่างภาพบางคนมักจะพกND Filter ที่สามารถลดทอนแสงได้ 3 stop,6 stop, 10 stop 

4. Graduate ND Filter 

มีความคลึงกับ ND Filter แต่มีความที่ตัวก่อนหน้านั้นจะดำสนิททั้งแผ่น แต่ Graduate ND Filter จะมีการไล่ระดับความเข้มขั้นดำสนิทไปจนถึงใส เป็นอีกหนึ่งไอเทมของช่างภาพสายภาพวิวที่ควรมีพกไว้ใช้ เพราะในบางครั้งที่ถ่ายภาพวิวและมีท้องฟ้าเป็นส่วนประกอบในภาพ หากวัดแสงให้ทั้งภาพพอดีจะพบว่ารายละเอียดท้องจะหายไป ต้องมาเหนื่อยจัดการในโปแกรม ซึ่งบางจุดก็ได้แต่หลายอาจจะไม่ดีเท่ากับการใช้ฟิลเตอร์ประเภทนี้ที่จะเข้ามาช่วยให้ท้องฟ้ามีรายละเอียดมากขึ้นโดยไม่ทำให้ส่วนอื่นสูญเสียรายละเอียดไป 

สำหรับ Graduate ND Filter แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน 

  1. Soft Edge การไล่แสงจะให้ความนุ่นวลจากขอบด้านหนึ่งถึงกลางภาพ 
  2. Hard Edge มีความคล้ายคลึงกับแบบแรก แต่ให้ภาพที่มี contrast จัดกว่า 
  3. Neutral Density Blender Filter มีความคล้ายกับสองประเภทแรกแต่การไล่ระดับน้อยกว่า 

5.White Balance Filter 

เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่หลายคนเริ่มไม่นิยมหันมาใช้งานเท่าไรอาจจะด้วย อาจจะด้วยปัจจุบันโปแกรมแต่งภาพเข้ามาช่วยงานในจุดนี้แล้ว โดยคุณสมบัติของฟิลเตอร์ตัวนี้จะช่วยเปลี่ยนสีภาพหรือ white balanceได้รวดเร็ว แต่ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพดิจิตอลสามารถปรับค่า white balance ได้รวดเร็วและหลากหลายกว่ามากทำให้ช่างภาพบางคนไม่ค่อยนิยมใช้ แต่ฟิลเตอร์ประเภทนี้จะมีหลายสีโทนเย็นกะโทนร้อนตามอุณภูมิของแสงที่มีใน white balance ให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน 

6.FLD หรือ Fluorescent  

เป็นฟิลเตอร์งานดีที่ช่างภาพดังๆหลายคนนิยมซื้อมาไว้ใช้กัน ด้วยความสามารถที่มาช่วยให้ภาพถ่ายดูแปลกตาและดึงดูดใจมากขึ้น โดยฟิลเตอร์ทำให้ภาพออกมาราวกับถ่ายภายใต้แสง fluorescent  เลยทีเดียวเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นที่ได้จากฟิลเตอร์ แม้กล้องในปัจจุบันจะมีฟีเจอร์มาช่วยแต่ภาพที่ได้จากการใช้ฟีลเตอร์ยังคงเป็นพระเอกทั้งในเรื่องคุณภาพและเอกลักษณ์ของภาพที่ได้   

วิธีง่ายๆในเลือกซื้อและตรวจสอบสภาพฟิลเตอร์ง่ายฉบับ EC-Mall  

โดยทั่วไปการเลือกฟิลเตอร์นอกจากเรื่องราคาและลักษณะการใช้งานแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงคือเรื่องของสารเคลือบหน้าฟิลเตอร์  EC-Mall แนะนำเทคนิคเด็ดในการเลือกฟิลเตอร์ง่ายๆเพียง หากระดาษสีขาวแล้ววางฟิลเตอร์ลงไป ถ้าเป็นฟิลเตอร์คุณภาพจะไม่ทำให้สีของกระดาษเปลี่ยนไป 

ส่วนตัวเรือนฟิลเตอร์นั้นในตลาดส่วนใหญ่ใช้อลูมิเนียม แต่ข้อระวังของวัสดุนี้มักเป็นเรื่องของการบิดงอเวลาโดนกระแทกทำให้เจอปัญหาการถอดเปลี่ยน แต่บางแบรนด์อย่าง B+W ที่ใช้ทองเหลืองที่มีความทนทานสูงกว่ามาทำแต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย 

เมื่อใช้ฟิลเตอร์ไปสักระยะควรหมั่นตรวจสอบ Coating มีอาการเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง ทำง่ายๆ แค่ลองนำหยดน้ำลงบนฟิลเตอร์ ถ้าน้ำไม่เกาะหน้าฟิลเตอร์เหมือนกับน้ำกลิ้งบนใบบัวถือว่ายังใช้งานได้ ส่วนตัวเรือนสามารถตรวจสอบว่ามีอาการบิดเบี้ยว รอยขูดหรือกระแทกที่อาจจะเป็นรอยแผลใหญ่ที่อาจจะส่งผลให้อนาคตเบี้ยวได้ง่าย ถ้ามีควรเปลี่ยนอันใหม่จะปลอดภัยกว่า

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเลือกใช้ฟิลเตอร์ตามลักษณะการใช้งานพร้อมเทคนิคง่ายๆในการเลือกซื้อฟิลเตอร์แบบพื้นฐานในแบบฉบับ EC-Mall ไปลองใช้กันได้