รู้จักกฎ 1% ที่จะช่วยให้ภาพธรรมดาดูสวยมากยิ่งขึ้น

ได้ยินกฎ 1% หลายคนอาจจะสงสัยว่ากฎธรรมดาๆเพียง 1% นั้นจะทำให้ภาพถ่ายของเราดูดีขึ้นได้อย่างไร ก่อนจะพูดถึงวิธีคิด ผู้เขียนพอไปรู้จักที่มาของเรื่องนี้เล็กน้อย กฎนี้เริ่มเป็นที่รู้จักในปี 2012 ในงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน ซึ่งทีมจักรยาน GB ทีมที่นำกฎนี้มาใช้และทำให้ทีมมีผลงานที่ดีเยี่ยมจากกฎ 1%  โดยทีมจักรยานจะพิจารณาการแข่งขันในทุกมุมมองมองละ 1% ปรับปรุงจนทำให้ทีมมีผลงานที่ดี ซึ่งเมื่อนำแนวคิดนี้มาใช้กับการถ่ายภาพจะช่วยให้ภาพของเราดีขึ้น 

คิดก่อนถ่าย 

มาเริ่มที่ 1% แรกเลยคือการคิดก่อนถ่าย มีช่างภาพหลายคนที่นิยมกดถ่ายภาพมาเป็นร้อยภาพเมื่อเราไปถ่ายภาพนอกสถานที่ แต่เราลองเปลี่ยนจากการกดรัวๆ มาเป็นให้เวลากับการคิดให้มากขึ้นก่อนที่จะกดถ่ายภาพ 

ทำงานใช้ช้าลงเพื่อเพิ่มโอกาสที่เราจะเปลี่ยนภาพธรรมดาที่อยู่ตรงหน้าให้เป็นภาพที่ดีขึ้นด้วยการคิดวิเคราะห์ในมุมต่างๆ พิจารณาความเป็นไปได้หากเราจะรอเวลาอีกหน่อยเพื่อจะมีลำแสง เมฆหรือมองหามุมที่ดีที่สุดจะทำให้เราได้ภาพที่ดีที่สุดเป็นรางวัล 

Photo by Ken Cheung on Unsplash

จัดคอมโพสิชั่นให้ดีที่สุด 

ต่อมาอีก 1% ที่เราต้องให้ความสำคัญคือเรื่องของการจัดองค์ประกอบภาพ วิธีการจัดองค์ประกอบภาพในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ แต่เราสามารถนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้ภาพออกมาดีที่สุด อย่างการนำกฎสามส่วนมาจับคู่กับเส้นนำสายตา การขัดแย้งสีหรืออื่นๆ จึงไม่จำเป็นที่เราจะต้องยึดกับกฎใดเพียงกฎเดียวในการถ่าย อีกสิ่งที่ช่วยให้องค์ประกอบมีความสมบูรณ์คือการลองขยับตัวเดินหน้า ถอยหลังขยับซ้ายขวาที่ละนิดหรือแล้วแต่ความชอบก็ได้ จะทำให้เราเห็นมุมมองที่แตกต่างและช่วยตัดสินใจได้ว่าจะเลือกมุมไหน 

ปรับตั้งค่าให้ดีที่สุด 

การตั้งค่าถ่ายภาพเป็นอีก 1% ที่สำคัญในการถ่ายภาพทั้งในเรื่องค่ารูรับแสง ชัตเตอร์สปีดและISO  ค่าพื้นฐานทั้งสามที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้ภาพเข้ามา การปรับถ่ายภาพต่างๆ จะอิงกับแนวคิดและจินตนาการภาพสุดท้ายที่เราต้องการ อย่างการถ่ายภาพแบบ high key ที่จะต้องตั้งค่าให้ภาพอิงไปทาง over มากกว่าปกติ การตั้งค่าก็จะเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้ถ่าย ขณะเดียวกันในเรื่องของแบบไฟล์อย่าง RAW และ JPG เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา 

Photo by John Mark Arnold on Unsplash

จัดการกับโฟกัสให้ดี 

เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการถ่ายภาพเพราะการโฟกัสที่วัตถุที่เราต้องการจะช่วยให้ภาพสื่อสารกับผู้ชมได้ง่ายและมีมิติภาพที่ดี อย่าง การถ่ายภาพบุคคลต้องโฟกัสที่ดวงตา และอีกสิ่งที่จะสัมพันธ์กับโฟกัสคือความชัดลึกที่เราต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน ส่วนภาพวิวจะโฟกัสไปที่ hyperfocal point แทน 

ใส่ใจการแต่งภาพ 

หลังจากเราทำงานหลังกล้องมาดีที่สุดแล้ว สิ่งต่อไปคือการแต่งภาพในส่วนงานนี้ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าเป็นช่วงแก้ไขจุดบกพร่องรวมถึงการเสริมแต่งจินตนาการ การลำดับการแต่งภาพและมองภาพสุดท้ายเพื่อให้การทำงานหลังจอมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว