รวมสัญลักษณ์ควรรู้บนเมมโมรี่การ์ด ก่อนตัดสินใจซื้อ

เมมโมรี่การ์ดเป็นไอเทมสำคัญที่เชื่อว่าเหล่ามือใหม่คงต้องนั่งสงสัยว่าจะเลือกอะไรแบบไหน สัญลักษณ์ที่บอกมันคืออะไรแล้วข้อมูลนี้จะช่วยให้เราสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากแค่ไหน วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ควรรู้ บน SD Card ช่วยให้เราเลือกซื้อ Memory card ได้ง่ายขึ้น

https://www.digitalcameraworld.com/

1.ยี่ห้อ

หนึ่งเรื่องที่ต้องรู้เป็นอย่างแรกสำหรับการซื้อเมมโมรี่ซึ่งในตลาดที่วางขายอย่าง SanDisk, Lexar, และ Kingston, Transcend, Samsung, Toshiba ซึ่งเป็นแบรนด์ยอดนิยมที่วางขายในตลาด และ แบรนด์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เชื่อว่าเป็นกลุ่มแรกๆของมือใหม่ที่จะหยิบมาใช้ครั้งแรกในชีวิต ซึ่งแต่ละแบรนด์จะมีบริการหลังการขายที่แตกต่างกัน บางยี่ห้อจะมีบริการกู้ข้อมูลฟรี หรือมีประกันหากสินค้ามีปัญหา ฉะนั้นควรศึกษาและสอบถามเจ้าที่ขายเพื่อความสบายใจ

2.ระดับขั้นของการ์ด

เมมโมรี่การ์ดเองก็มีการแบ่ง line สินค้าตั้งแต่ระดับธรรมดาจนถึงระดับพรีเมี่ยม ซึ่งการแบ่งระดับการ์ดของแต่ละแบรนด์มีความแตกต่างกันไปตามแต่จะตั้งชื่อกันไปยกตัวอย่างเช่น SanDisk ที่แบ่งขั้นไว้ตั้งแต่ Ultra, Ultra Plus, Extreme, Extreme Plus และ Extreme Pro ซึ่งระดับการ์ดจะเป็นตัวบ่งบอกว่าจะมีฟีเจอร์เรื่องของความเร็วและป้องกันน้ำไปในตัว ซึ่งระดับการ์ดยิ่งสูงราคาก็จะสูงตาม

3.ความจุ

เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกหาซื้อเมมโมรี่การ์ด ซึ่งความจุยิ่งมากย่อมทำให้สามารถเก็บจำนวนไฟล์ได้มากขึ้น ซึ่งในตลาดมีตั้งแต่ 4GB, 8GB และสูงสุดถึงประมาณ 1 TB และ 2TB แต่โดยส่วนใหญ่ความจุระดับ 512GB ก็ค่อนข้างเพียงพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพประเภท RAW JPG 4K ระดับหนึ่งแล้วเพียงแต่ควรพกหลายใบเป็นตัวสำรอง

โดยช่างภาพหลายคนมักจะนิยมซื้อการ์ดที่มีความจุ 32GB หรือ 64GB ไว้ใช้มากกว่าเพราะหากมีการเกิดปัญหาการ์ดเสียจำนวนไฟล์ที่หายไปจะน้อยกว่าการการ์ดที่ความจุเยอะ เรียกกันง่ายๆว่า ใช้การ์ดที่จำนวนไม่มากเกินไปแต่ใช้หลายใบเป็นการกระจายความเสี่ยงได้ดีมากๆ

4.ชนิดของการ์ด

ปัจจุบัน การ์ด SD ทุกแบบรวมไปถึง MicroSD จะถึงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ  SD, SDHC และ SDXC ซึ่งจะแสดงบนการ์ดให้ดู แต่ในส่วนของ SD (Secure Digital)  ที่มายาวนานกว่านั้นมีปัญหาในเรื่องของการพัฒนาให้เมมโมรี่การ์ดมีความจุหรือความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลให้เร็วขึ้นจนทำให้เกิด SDHC หรือ SDXC จะดีกว่า

SDHC (Secure Digital High Capacity) เป็นการ์ดที่จะมีความจุอยู่ในช่วง 4-32 GB ด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้การ์ดแบบนี้จะมีความจุที่มีระยะห่างประมาณ 2 เท่าอย่าง 4GB, 8GB, 16GB หรือ 32GB

SDXC (Secure Digital Extra Capacity) เรียกว่าเป็นการ์ดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสองแบบข้างบนทำให้การ์ดชนิดนี้มีความจุมากซึ่งมีวางขายในตลาด 64GB, 128GB, 256GB, 512GB และ 1TB  และจะมีการเพิ่มอีกในอนาคต

ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพส่วนใหญ่รองรับกับการ์ดชนิด SDHC และ SDXC อยู่แล้ว แต่กล้องรุ่นเก่าบางรุ่นอาจจะไม่รองรุ่นชนิดการ์ดรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบกล้องตัวเองให้แน่ใจก่อนซื้อ

5.ความเร็ว

เป็นเรื่องที่มีความสับสนวุ่นวายอยู่เล็กในเรื่องของความเร็วในการอ่านข้อมูลเพราะบางการ์ดจะใช้ MB/s บางการ์ดใช้หน่วย x มาแทนทำเอาหลายคนงงกันว่าสรุปแล้วมันคืออะไร โดยในส่วนนี้ทางเว็บไซต์ digital camera world ยกตัวอย่างว่า 150MB/s นั้นจะเท่ากับ 1000x พร้อมสรุปว่า 1x จะเท่ากับ 150kb ฉะนั้นความเร็วในอ่านที่ 45MB/s จะเท่ากับ 300x

หลายคนมีความคิดว่าความเร็วในการเขียนจะเท่ากับความเร็วการอ่านข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปความเร็วในการอ่านอาจจะสูงกว่าความเร็วในการเขียนเล็กน้อย ซึ่งเรื่องนี้ต้องตรวจสอบกับเว็บไซต์ของแต่ละแบรนด์ แต่อย่างไรก็ตามความเร็วในการเขียนมีความสำคัญกับการถ่ายภาพมาก เพราะกล้องบางชนิดอย่างพวกฟูลเฟรมจถ่ายภาพออกมาเป็นไฟล์ขนาดใหญ่ หากการ์ดความเร็วน้อยจะทำให้เกิดปัญหาตอนถ่ายภาพต่อเนื่องทำให้การ์ดลงข้อมูลไม่ทันจนต้องรอให้การ์ดทำงานต่อจึงค่อยถ่ายได้ต่อ ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา

6. Speed Class

สำหรับตอนนี้การ์ดประเภท SDHC และ SDXC  จะมีสัญลักษณ์วงกลมที่ข้างในจะมีตัวเลข 2,4,6, ซึ่งเป็น class ความเร็วในการเขียนของการ์ดไว้ จะเป็นความเร็วขั้นต่ำที่ตัวการ์ดจะเขียนข้อมูลด้วยความเร็วขั้นต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่คนถ่ายวีดีโอให้ความสำคัญมากเพราะการถ่ายวีดีโอต้องการการ์ดที่บันทึกลงการ์ดอย่างต่อเนื่องและมีความเร็วที่เหมาะสมกับไฟล์ โดยเฉพาะ 4K

7. UHS speed class

ในตอนนี้มีการแบ่ง Class อยู่ 2 แบบคือ UHS Speed Class 1 และ UHS Speed Class 3 โดยจะมี ตัวเลข 1 และ 3 กลางตัว U ซึ่งว่าไปแล้วเรื่องนี้ออกจะง่ายในการทำความเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่ง UHS Speed Class 1 ที่จะมีความเร็วการเขียนขั้นต่ำอยู่ที่ 10MB/s ขณะที่  UHS Speed Class 3 จะสูงถึง 30MB/s เป็นเรื่องที่สายวีดีโอจะรู้ไว้เพื่อรู้ว่าฟุตเทจของเขาจะถูกบันทึกทันทีโดยไม่มีปัญหา ซึ่งจะพบได้ใน SDHC และ SDXC

UHS Bus IF product family

8. UHS Bus IF product family

เห็นหัวข้อนี้แล้วอย่าพึ่งไปสับสนกับอันข้างบนเพราะ UHS Bus IF จะมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท UHS-I, UHS-II และUHS-III และสามารถเขียนย่อเป็นตัวเลขโรมันได้

ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ ‘bus interface ซึ่งจะมีบทบาทกับสำคัญที่บ่งบอกเรื่องความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล โดย UHS-I จะมีความเร็วสูงสุดที่ 104MB / s ในขณะที่การ์ด UHS-II มีความเร็วบัสสูงสุด 312MB / s ขณะที่การ์ด UHS-III ให้เพิ่มเป็นสองเท่าเป็น 624MB / s แต่ยังไม่พร้อมใช้งาน

ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่างภาพกีฬาหรือแอ็คชั่นให้ความสำคัญมากเพราะเป็นการการันตีว่าการ์ดจะมีความเร็วที่จะเขียนข้อมูลภาพในเวลาที่น้อย และยังหมายถึงการถ่ายโอนข้อมูลรูปภาพและวีดีโอจากการ์ดไปคอมพิวเตอร์ในเวลาที่น้อย แต่ยังมีความกังวลว่า VR และ 360 องศา จะมีปัญหามากแค่ไหน

Video Speed Class

9. Video Speed Class

มีทั้งหมด 5 ระดับความเร็วคือ  V6, V10, V30, V60 และ V90 ซึ่งจะมีแนวคิดคล้ายๆ กับ Speed Class ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการเขียนขั้นต่ำในหน่วย MB / s ดังนั้น V6 มีความเร็วการเขียนขั้นต่ำ 6MB / s, V10 มีความเร็ว 10MB / s เป็นต้น

ในการออกแบบล่าสุดจะเป็นการนตอบสนองความต้องการของกล้องวีดีโอรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการถ่ายวีดีโอของช่างภาพด้วย แต่ทางหน่วยงาน SD Association ให้คำแนะนำว่า V6, V10 และ V30 จะเหมาะกับการถ่ายวีดีโอระดับ 1080p / FullHD และ V30 กับ V60 จะเหมาะกับ 4K ส่วน 8K นั้นจะมีเพียง V90 เท่านั้นที่รองรับในตอนนี้