มือใหม่ กับ ไมโครโฟนไร้สาย Lensgo 348C นอกสถานที่ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด!

แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นที่เริ่มหัดใช้ไมโครโฟนไร้สายสำหรับบันทึกเสียง ในกรณีที่เราต้องเอาไมโครโฟนไปเพื่อใช้อัดเสียงหรือทำคลิปที่ต้องมีพิธีกรพูดนอกสถานที่ด้วยเนี่ย เราต้องคำนึงในเรื่องอะไรบ้าง และควรเตรียมตัวยังไง? เรามีคำตอบให้

1. โลเคชั่นที่ไปถ่ายมีลักษณะยังไง งานอะไร มีเสียงรบกวนแค่ไหน

อย่างแรกควรสำรวจหรือวางแผนให้เรียบร้อยเลยว่าโลเคชั่นที่ไปถ่ายมีลักษณะยังไง งานเป็นแบบไหน มีเสียงรบกวนเยอะแค่ไหน ที่เราต้องรู้เพราะจะได้วางแผนในการรับมือได้อย่างถูกต้อง

ยกตัวอย่างเช่น งานอีเวนต์ในห้างสรรพสินค้า ในงานมีลำโพง มีการเปิดเพลง หรืออาจจะมี MC พูดในงาน ตรงนี้ต้องรู้ครับ เพราะถ้ามีเราจะได้รู้ว่าต้องเซ็ตไมโครโฟนยังไง ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอะไรบ้าง ต้องตั้งค่าการรับเสียงแบบไหนเพื่อให้เสียงรบกวนเข้ามาน้อยลง

สรุปในประเด็นนี้นะ ทำการบ้านเรื่องโลเคชั่นให้ดีเพื่อที่เราจะทำงานได้อย่างราบรื่น

2. ลักษณะการใช้งานไมโครโฟนเป็นแบบไหน ใช้การบันทึกแบบ Built In Mic หรือ Lavalier

สิ่งต่อมาที่ต้องรู้ครับว่าลักษณะการใช้งานเราจะเป็นแบบไหน บันทึกโดยใช้ไมโครโฟนแบบ Built In ในตัว หรืออยากติดตั้งแบบ Lavalier ประเด็นนี้แม้ไม่ใช่ประเด็นใหญ่มากนัก แต่ก็มีประโยชน์ สองอย่างนี้มีความต่างกันอยู่นะ

การใช้ไมโครโฟนแบบ Built In โดยตรงก็ดีตรงที่ง่าย ติดตัวส่งสัญญาณกับพิธีกร ตัวรับก็ติดกับกล้อง เปิดไมโครโฟนเปิดกล้องพร้อมบันทึกเสียงเลย แต่อาจจะไม่เหมาะกับงานเนี๊ยบ ๆ ที่ต้องการซ่อนไมโครโฟนไว้ใต้เสื้อ และการรับเสียงจะมีช่วงที่กว้างกว่าไมโครโฟนแบบ Lavalier ซึ่งถ้าเป็นงานอีเวนต์ หรือพื้นที่นั้นมีเสียงบรรยกาศที่ดังมาก วิธีนี้อาจจะไม่ได้เหมาะนัก

การใช้ไมโครโฟนแบบ Lavalier ก็จะได้มิติเสียงพูดอีกแบบ เสียงบรรยากาศมันจะลดลงไปมาก และจะได้เนื้อเสียงพูดเป็นหลัก สามารถที่จะซ่อนไมโครโฟนไว้ใต้เสื้อได้ ซึ่งเหมาะกับงานบันทึกเสียงพูดเป็นหลัก เน้นความคมชัดของเนื้อเสียง แต่เสียงบรรยากาศก็จะลดลงไปเยอะ ถ้าทำคอนเทนต์แนว Vlog ที่เราอยากได้ยินเสียงบรรยากาศบ้างวิธีแรกอาจจะเหมาะสมกว่าวิธีนี้

3. ใช้กับกล้องหรือ Smartphone

ประเด็นเล็ก ๆ แต่การทำงานต่างกันพอสมควร สำหรับการใช้งานกับกล้องหรือ Smartphone ก็จะมีสองเรื่องที่ต้องคำนึงนะ

ถ้าหากใช้งานกับกล้องการติดตั้งจะง่าย คือใช้สาย TRS to TRS ต่อระหว่างตัวรับกับกล้องได้เลย และก็ตั้งค่าเสียงก็จบ

แต่ถ้าหากใช้กับ Smartphone ความซับซ้อนจะมากกว่า เพราะ Smartphone ต้องใช้สาย TRS to TRRS ในการเชื่อมต่อ และนอกจากนี้ยังต้องเซ็ตตัว Application ของ Smartphone ด้วยว่าให้เลือกบันทึกเสียงด้วยไมโครโฟนแบบไหน ตัวแอพอนุญาตให้ใช้ไมโครโฟนแยกจากภายนอกบันทึกเสียงหรือไม่ แล้วก็ตัวแอพมีการแสดงสถานะของไมโครโฟนหรือเปล่า อาจจะต้องมีการถ่ายวิดีโอและบันทึกเสียงเพื่อทดสอบก่อนเริ่มถ่ายจริงด้วย

การทำงานกับ Smartphone ก็เหมือนจะง่าย แต่ต้องใช้ความเข้าใจและความชำนาญด้วยเหมือนกัน ดังนั้นกก็ต้องคำนึงด้วยนะครับว่าเอาไปใช้กับอุปกรณ์อะไร จะได้เตรียมสายและการทำงานไปให้เหมาะสม

4. ควรฝึกเซ็ตไมโครโฟนเพื่อให้เสียงรบกวนเข้ามาน้อยที่สุด

อีกเรื่องที่ควรฝึกไว้และจะได้ใช้แน่นอนควรการฝึกเซ็ตไมโครโฟนเพื่อให้สามารถจัดการกับเสียงรบกวนให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การฝึกใช้ไมโครโฟน Lavalier คู่กับ Lensgo 348C, การฝึกติดตั้งไมโครโฟนไว้ใต้เสื้อ, การเซ็ตไมโครโฟนเพื่อลดระดับการรับเสียง และสื่อสารให้พิธีกรพูดดังขึ้น เป็นต้น

ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้เราสามารถจัดการกับเสียงรบกวนในบริเวณรอบ ๆ ได้ และทำให้เราได้เสียงพูดที่คมชัดนั่นเอง

5. ควรบันทึกเสียงลง Memory Card ลงโดยตรงเพื่อสำรองไฟล์เสียงไปด้วย

ขั้นตอนสุดท้ายคือการบันทึกเสียงลง Memory Card โดยตรงและฝึกที่จะสำรองไฟล์เสียงทุกครั้งหลังจากทำงานแล้วด้วย ซึ่งตัว Lensgo 348C จะเป็นไมโครโฟนที่สามารถใส่ MicroSD Card สำหรับบันทึกเสียง Backup Microphone ลงไปในเมมโดยตรง

ข้อดีเลยก็คือถ้าหากเจอกรณีเลวร้ายจริง เช่น สัญญาณคลื่นรบกวนเยอะมาก เสียงสัญญาณเกิดความไม่เสถียรทำให้เวลาบันทึกเสียงเกิดการขาดหายของเสียง หรือมีความไม่ชัดเจน อย่างน้อยตัวเมมจะรับเสียงได้ 100% เราสามารถเอาเสียงในเมมมาใช้ในขั้นตอนการตัดต่อได้

หรือกรณีที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยแต่ก็อาจจะมีคือ เสียงที่เราบันทึกมันไม่เข้ามาในตัวกล้องหรือวิดีโอ คืออัดมาแล้วแต่กลับไม่มีเสียงพูดเข้ามา ในกรณีนี้เราก็ยังสามารถที่จะใช้เสียง Backup มาใช้งานได้

หากลูกค้าสนใจสินค้าสามารถเลือกชมได้ตามลิ้งค์ด้านล่างเลย

คลิกเลยย>> LENSGO 348C