10 step สำคัญช่วยให้การถ่ายภาพ street ออกมาดี

Street photography แนวถ่ายภาพที่ได้รับความนิยมมากในเวลานี้ แน่นอนเหล่ามือใหม่ยังคงพยายามออกเดินถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพดีๆ มาไว้ที่ตัว ซึ่งเทคนิคการถ่ายภาพของมือโปรหลายคนต่างมีเทคนิค Craig Reilly ช่างภาพ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Street Photography International Collective มาแบ่งปันเทคนิคการถ่ายภาพแนว street 10 ข้อให้มือใหม่ได้ไปลองกัน

1.เลือกเครื่องมือที่ใช่

เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกเว็บไซต์ หนังสือและบทความต่างๆ แนะรูปแบบ ขนาดกล้องที่เหมาะแก่การถ่ายภาพแนวนี้ ส่วนใหญ่จะแนะนำว่าจะเป็นกล้องที่มีขนาดเล็ก เลนส์ระยะ 35 มม. แต่ถ้าคุณลองแนวนี้มาบ้างแล้วลองมองหาความแตกต่างเพื่อสร้างสรรค์แนวใหม่ๆ ในแบบของตัวคุณออกมา

โดยตัวของ Craig Reilly เลือกใช้กล้องเซนเซอร์ micro four third ของแบรนด์ OM-D เหตุผลส่วนตัวที่เลือกเพราะเป็นระบบที่เข้ากับ Craig Reilly และปุ่มสั่งงานยังตั้งค่าได้ตามต้องการ ขนาดและน้ำหนักของกล้องบวกกับคุณภาพของกล้องทำให้การทำงานของเขาง่ายมากขึ้นแม้ในสภาพอากาศที่ย่ำแย่ก็ตาม

ส่วนเลนส์ที่ใช้จะเป็นเลนส์ฟิกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อบังคับให้เราต้องเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น

2.ไม่ต้องเร่งรีบ

สำหรับคนที่เริ่มถ่ายภาพสตรีทครั้งแรกจะรู้สึกตื่นเต้นกับทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่งๆ ซึ่งผลที่ได้มาคือรูปจำนวนมากซึ่งอาจจะมากถึง 100 รูปเลยก็ได้แต่เมื่อเรานำมาตรวจสอบดูที่หน้าจอคอมกลับกลายเป็นรูปที่ใช้งานไม่ได้เกือบทั้งหมด

Craig Reilly แนะนำให้ผู้เริ่มต้นเรียนรู้และรู้จักรอในจุดที่คิดว่าหรือคาดเดาว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรอและโอกาสที่จะเกิดขึ้น แต่หากสงสัยว่าสถานที่ที่เรารอนั้นควรจะพลุ่งพล่านมากแค่ไหน รอจดจำเวลาที่คนวุ่นวายแล้วลองมาในเวลาที่คนไม่มากนัก รวมถึงช่วงเวลาที่แสงลงตัวเพื่อดูว่าออกมาตามที่อยากได้หรือเปล่า

(Image credit: Craig Reilly)

3.ตรวจสอบให้ทั่วทั้งเฟรม

เมื่อสถานที่เต็มไปด้วยวัตถุมากมายไปหมด การรอหรือเลือกวัตถุสุดท้าย โดยตัวช่างภาพ Craig Reilly แนะนำว่าให้พยายามถ่ายรูปมาให้ภาพมีความสมบูรณ์มากที่สุด จะช่วยประหยัดเวลาการทำงานหลังคอมพิวเตอร์ไปได้มาก

อย่างแรงคือเรื่องของการวัดแสงให้ถูกต้อง ก่อนที่จะพิจารณาในเรื่องขององค์ประกอบเฟรม ซึ่งตลอดการทำงาน Craig เอง

4.คิดถึงฉากหลัง

เป็นเรื่องปกติที่เราจะสนใจกับวัตถุจนลืมเรื่องฉากหลัง จากเหตุการณ์ง่ายที่เรามักจะเจอกันบ่อยคือวัตถุที่เราถ่ายมาหายไปอยู่หลังเสาและโผล่มาแค่บางส่วนของร่างกายซึ่งทำให้ภาพดูน่าสนใจ

เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นลองมาสนใจฉากหลังและจุดที่เรายืนให้มากขึ้นเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อแยกวัตถุกับฉากหรือจะใช้เทคนิค Juxtaposition ก็ได้

(Image credit: Craig Reilly)

5.เปลี่ยนมุมมอง

เมื่อคุณออกไปเดินเล่นตามท้องถนนเยี่ยมชมแกลเลอรีหรือพิพิธภัณฑ์หรือเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถไฟใต้ดินคุณควรใช้โอกาสนี้ในการมองสิ่งต่างๆจากมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง

การถ่ายภาพในระดับสายตานั้นง่ายมากซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ในหลาย ๆ โอกาส แต่ถ้าเป็นตัวเลือกให้ใช้เวลาในการดูตำแหน่งของคุณจากพื้นดินจากด้านบนหรือมุมที่แปลก มันจะเปิดโอกาสให้คุณมีวิธีการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ มากมาย คุณสามารถมองเข้าไปในหน้าต่างของร้านค้ารถที่ผ่านไปมาหรือรถประจำทางได้หรือไม่? คุณสามารถมองออกไปด้านนอกจากรถที่จอดนิ่งได้หรือไม่? คุณสามารถยกกล้องขึ้นเหนือศีรษะหรือวางบนพื้นได้หรือไม่?

6.เตรียมความพร้อม

การตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ชาร์จแบตเตอรี่และมีหน่วยความจำที่ว่างเพียงพอในการ์ดหน่วยความจำถือเป็นขั้นตอนแรกในการเตรียมพร้อมสำหรับการถ่ายทำทั้งวัน ฉันถ่ายโอนรูปภาพทั้งหมดไปยังฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกเมื่อสิ้นสุดวันและล้างการ์ดหน่วยความจำในตอนเช้าก่อนออกไปข้างนอก

เมื่อออกไปข้างนอกต้องแน่ใจว่าได้เตรียมการตั้งค่ากล้องตามตำแหน่งการยืนและปริมาณแสงที่มี นิสัยที่ดีที่ควรปฏิบัติคือตรวจสอบความเร็วชัตเตอร์และระยะชัดลึกทุก ๆ ครั้งหรือเมื่อคุณเข้าสู่สถานที่ที่แสงแตกต่างกันมาก

หากเรากำลังรออยู่ที่จุดสนใจ สิ่งแรกที่พิจารณาฉากหลังและทิศทางแสง โดยจะวัดแสงเฉพาะจุด สิ่งนี้ทำให้เรามีทางเลือกเลือกมากที่จะสร้างสรรค์ภาพได้เพิ่มเติม

(Image credit: Craig Reilly)

7.ยึดมั่นในแนวทางของตนเอง

หนึ่งในความกลัวของคนถ่ายภาพหลายคนคือการเข้าใกล้คนแปลกหน้า ซึ่งเคล็ดลับง่ายๆคือมั่นใจกับแนวทางของตนเองเพราะความลังเลนอกจะทำให้เราดูน่าสงสัยแล้วยังทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้รูปด้วย อีกเคล็ดลับหนึ่งที่มีการใช้กันบ่อยคือพยายามไม่สบตากับแบบที่เราเล็งไว้ โดยเราจะไปยืนในจุดที่เราต้องการและพยายามมองเลยตัวแบบเราไป จัดการเฟรมที่ต้องการให้ได้แล้วกดถ่าย หลังจากเราถ่ายก็พยายามมองไปในจุดเดิมที่เราถ่ายแต่แรก แต่การพูดคุยกันตรงๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีและสบายใจ

8.ไปเส้นทางเดิมๆ

เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่หลายคนสงสัยว่าจะดีไหม แต่ทางคุณ Craig Reilly กล่าวว่าเป็นวิธีที่ช่างภาพหลายคนมักทำกัน โดยคุณจะเดินถ่ายรูปบนเส้นเดิมอย่างน้อยประมาณปีครึ่งทำให้เรารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานที่ในแต่ละเดือน แต่ละปีที่ชัดเจน และความเปลี่ยนแปลงของแสงที่เกิดขึ้นระหว่างวัน

9.อย่าลบ

หลายคนที่มักจะเป็นคือเมื่อเรากดถ่ายภาพแล้วได้รูปที่ไม่เป็นตามคาดหวังเราจะลบทันที ซึ่งพฤติกรรมอาจจะทำให้เราพลาดรูปดีๆไปก็ได้ดังนั้นอย่าลบรูปที่ถ่ายในทันทีลองกลับมาดูที่บ้านแล้วค่อยตัดสินว่ารูปไม่ดีจริงและควรลบ เพราะเวลาที่เปลี่ยนไปความคิดและมุมมองที่เรามีต่อภาพบางภาพอาจจะเปลี่ยนไป

10.แต่งกายสบายๆ

การแต่งกายสบายๆ จะช่วยให้เราถ่ายรูปได้ตลอดวันไม่วุ่นวายกับเสื้อผ้ามากหนัก รวมถึงดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมให้มากที่สุดและรองเท้าเป็นอีกสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพราะต้องเดินถ่ายรูปกันหลายกิโล ดังนั้น พยายามแต่งตัวให้สะดวกสบายเหมาะกับสถานที่และสภาพอากาศ